[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 1 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 24/มี.ค./2564
ผู้ใช้งานขณะนี้ 4 IP
ขณะนี้
4 คน
สถิติวันนี้
761 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
965 คน
สถิติเดือนนี้
6787 คน
สถิติปีนี้
312020 คน
สถิติทั้งหมด
1548032 คน
IP ของท่านคือ 3.233.242.216
(Show/hide IP)
  
ความเป็นมา  
 

 

 

 

 


                   การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐเครื่องมือหนึ่ง โดยเป็นเครื่องมือในเชิงบวกที่มุ่งพัฒนาระบบราชการไทยในเชิงสร้างสรรค์มากกว่ามุ่งจับผิด เปรียบเสมือนเครื่องมือ ตรวจสุขภาพองค์กรประจำปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศได้รับทราบถึงสถานะและ ปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสขององค์กร  ผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่วยงาน ภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การให้บริการ สามารถอำนวยความสะดวก และตอบสนองต่อประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันการประเมิน ITA ยังเป็นเครื่องมือในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานภาครัฐ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการ ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ดังนั้น การประเมิน ITA จึงไม่ได้เป็นเพียงการประเมินคุณธรรมการดำเนินงาน การป้องกันการทุจริตในองค์กรและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ แต่ยังเป็นการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน เพื่อให้ทราบถึงช่องว่างของความไม่เป็นธรรมและความด้อยประสิทธิภาพ สำหรับนำไปจัดทำแนวทางมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในระบบราชการไทย
                   คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยมีเจตนารมณ์ที่มุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐนำข้อมูลผลการประเมินไปพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานตนเองได้อย่างเหมาะสมเพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการขับเคลื่อนมาตรการเชิงบวกด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ของหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย   กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการตอบสนองนโยบายดังกล่าว โดยจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม  ความโปร่งใส  ปราศจากการทุจริตและเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารงานให้บรรลุเจตนารมณ์  อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน และความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ รวมทั้งตอบสนองและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน จึงได้ร่วมประเมินในโครงการดังกล่าว มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558

 

1.  อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ที่ปรึกษาคณะทำงาน
2.  รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (ที่ได้รับมอบหมาย) ประธานคณะทำงาน
3.  เลขานุการกรม คณะทำงาน
4.  ผู้อำนวยการกองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต คณะทำงาน
5.  ผู้อำนวยการกองพัฒนาสังคมกลุ่มเป้าหมายพิเศษ คณะทำงาน
6.  ผู้อำนวยการกองกิจการอาสาสมัครและภาคประชาสังคม คณะทำงาน
7.  ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน คณะทำงาน
8.  ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ คณะทำงาน
9.  ผู้อำนวยการกองหนึ่งใจ...เดียวกัน คณะทำงาน
10. หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบบริหาร คณะทำงาน
11. หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบภายใน คณะทำงาน
12. หัวหน้ากลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล คณะทำงาน
13. หัวหน้ากลุ่มพัสดุและบริหารทรัพย์สิน คณะทำงาน
14. หัวหน้ากลุ่มบริหารการคลัง คณะทำงาน
15. หัวหน้ากลุ่มพัฒนาทรัพยากรบุคคล คณะทำงาน
16. หัวหน้ากลุ่มประชาสัมพันธ์ คณะทำงาน
17. หัวหน้ากลุ่มกฎหมาย คณะทำงานและเลขานุการ
18. เจ้าหน้าที่กลุ่มกฎหมายที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน ผู้ช่วยเลขานุการ

 



      1. ดำเนินการตามเกณฑ์ ระเบียบวิธี และคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
      2. ดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันบนเว็บไซด์ของหน่วยงาน เพื่อเปิดเผยการดำเนินการต่างๆ ของหน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบตามประเด็นและตัวชี้วัดของการประเมิน ITA
      3. ประสานงานกับหน่วยงานภายในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นไปตามแนวทางการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กำหนด
     4. กำกับ ติดตาม รวมถึงเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบการปฏิบัติราชการของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ให้มีการดำเนินงานที่เป็นไปตามแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน
     5. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย